วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561


การบันทึกครั้งที่ 16
วันเสาร์ที่ 28  เมษายน พ.ศ.2561     เวลา 08:30 - 12:30 น.

เนื้อหาที่เรียน
                     กิจกรรมที่ 1 การนำเสนอสื่อการสอนคณิตศาสตร์และสรุปผลการสังเกตพฤติกรรมการเล่นของเด็กในการสอนกิจกรรม
มีดังนี้  กลุ่มที่ 1

นางสาววสุธิดา  คชชา และนางสาววิภาพร  จิตอาคะ ได้นำเสนอเนื้อหาในรูปแบบพาเวอร์พอยท์และสรุปพฤติกรรมเด็กได้อย่างสมบูรณ์ คำแนะนำเพิ่มการใช้เครื่องมือวัดที่คงที่ 


นางสาวสุภาวดี  ปานสุวรรณ นำเสนอสื่อเรขาคณิตและได้สรุปเนื้อหาจากการอธิบาย และคลิปวิดีโอ      ได้รับคำแนะนำในการบันทึกการสังเกตเด็ก ปรับแก้การนำเสนอ


นางสาวปวีณา  พันธ์กุล นำเสนอสื่อในรูปแบบคลิปวิดีโอ มีการสาธิตการเล่นสื่อแบบอนุกรม ได้ฟังคำแนะนำจากอาจารย์ในการปรับแก้สื่อ และวิธีการเล่น  คือการเพิ่มโจทย์ในการกำหนดให้เด็กเล่นอนุกรม โดยใช้สีเป็นตัวแบบ เช่น แดง ______    ______  เหลือง แดง  แดง เขียว เหลือง แดง  แดง เขียว เหลือง   และใช้คำถามว่า ช่องที่ว่างจะเป็นสีอะไร  เพื่อกระตุ้นให้เด็กคิด


นางสาวณัฐชา  บุญทอง  และนางสาวอรอุมา  ศรีท้วม นำเสนอสื่อเรื่อง เกม บวก ลบ มหาสนุก
ซึ่งได้อธิบายวัสดุอุปกรณ์  ขั้นตอนการทำ ขั้นตอนการเล่น  และให้ชมคลิปวิดีโอ ปรับแก้ด้านการนำเสนอ ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ในวิธีการสอน การอธิบายที่ถูกต้องชัดเจน


นางสาวกิ่งแก้ว  ทนนำ นำเสนอสื่อเดี่ยว เรื่องเครื่องชั่ง ในการนำเสนอมีเนื้อหาสมบูรณ์ ครบถ้วน มีภาพการนำเสนอที่น่าสนใจ และการพูดที่ชัดเจน ฟังเข้าใจตามลำดับ


นางสาวสุภาภรณ์  วัดจัง และนางสาวสุจิณณา  พาพันธ์  นำเสนอสื่อรูปทรงยืดหยุ่น มีคลิปวิดีโอ แต่ยังขาดเนื้อหาใจความที่สมบูรณ์ อาจารย์ให้คำแนะนำในการถ่ายคลิป การนำเสนอและการบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเด็ก


นางสาวสิริวดี  นุเรศรัมย์ นำเสนอสื่อเรื่องตกปลาได้เลข ในการนำเสนอมีคลิปวิดีโอ การนำเสนอที่ชัดเจน มีวิธีการสอนเด็กที่น่าสนใจ เด็กๆอยู่นิ่งไม่วุ่นวาย  อาจารย์ให้คำแนะนำในด้านการปรับบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเด็ก


นางสาวอุไรพร  พวกดี และนางสาวชานิศา  หุ้ยทั่น นำเสนอสื่อการสอนเรื่องขนาดของหลอด การนำเสนอเนื้อหาไม่ชัดเจน ปรับแก้วิธีการเล่นและการอธิบายเนื้อหา


นางสาววิจิตรา  ปาคำ นำเสนอสื่อการสอนเรื่องรูปเรขาคณิตและสี  มีการอธิบายวิธีการและการสังเกตเด็กจากคลิปวิดีโอ


นางสาวสุพรรณิการ์  สุขเจริญ  และนางสาวอภิชญา  โมคมูล นำเสนอสื่อการสอนเรื่องจับคู่สีรูปภาพ       มีเนื้อหาที่ชัดเจน  คำแนะนำในการปรับแก้วิธีการเล่นและการบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเด็ก


การนำเสนอสื่อของกลุ่มดิฉัน



วิดีโอการสอนสื่อ




สรุปความรู้ที่ได้จากการฟัง

          ➪  การทำงานสอดคล้องกับสมอง  สมองรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 สอดคล้องสัมพันธ์กันเป็นความรู้ใหม่

การวัดและประเมินเด็ก มี 2 อย่างคือ
1.การสังเกต  เครื่องมือคือแบบบันทึก  มี 2 แบบ 1. ใช้คำถามปลายเปิด และจดบันทึก
                                                                           2. เช็คลิส  ตามหัวข้อ
2. การสนทนา  สนทนากับเด็กเพื่อทราบพฤติกรรม  ใช้การดูผลงาน


งานที่ได้รับมอบหมาย 

1.การสร้างรูปทรงและรูปร่างเรขาคณิต


รูปทรงห้าเหลี่ยม  จากการสร้างด้วยดินนำมันกับไม้จิ้มฟัน


รูปร่างสี่เหลี่ยมคางหมู  จากการสร้างด้วยดินน้ำมันกับไม้จิ้มฟัน

2. งานคู่ คิดกิจกรรมคณิตศาสตร์ที่ผู้ปกครองสามารถเล่นกับลูกได้


กิจกรรม นักสำรวจวัยจิ๋ว  เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้ปกครองและเด็กร่วมกันสำรวจสิ่งของต่างๆที่มีรูปทรงเหมือนกันและแตกต่างกันภายในบ้าน นำมาเปรียบเทียบและเรียงลำดับ


 ทักษะที่ได้รับ
- การเตรียมความพร้อม ในการนำเสนอต้องมีเนื้อหาชัดเจนครบถ้วน มีการเรียบเรียงคำพูดหรือวิธีการที่ถูกต้องสามารถนำไปใช้ได้ให้เกิดประโยชน์

 การนำมาประยุกต์ใช้
- การสังเกตพฤติกรรมในการเขียนแบบบันทึกไม่ควรใส่อารมณ์ความรู้สึกของผู้เขียน แต่จะอธิบายทุกท่วงท่าของพฤติกรรมให้เข้าใจง่าย
              
 บรรยากาศในห้องเรียน
- มีอากาศหนาวเย็นเนื่องจากฝนตก การเรียนค่อนข้างเป็นไปด้วยดี ในการนำเสนอ
             
ประเมินวิธีการสอน    
อาจารย์ให้ความสำคัญกับวิธีการสอนมากที่สุดเพราะจะเป็นตัวสำคัญในการนำไปใช้สอนเด็ก และในการนำเสนอของนักศึกษานั้นการพูดควรมีความชัดเจนไม่กำกวม มีการนำเสนอที่น่าสนใจ และเข้าใจ อาจารย์มีทั้งชม และติให้นักศึกษานำไปปรับใช้ แต่ก็ล้วนเป็นคำแนะนำที่ดีของนักศึกษา











วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 15
วันพุธที่ 25  เมษายน พ.ศ.2561     เวลา 08:30 - 12:30 น.

เนื้อหาที่เรียน
                      กิจกรรมที่ 1 การนำเสนอวิจัย ของนางสาวรัตติยากร  ศาลาฤทธิ์  นำเสนอวิจัยเรื่อง
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 
สรุปเนื้อหาได้ดังนี้ : ความมุ่งหมาย เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ตัวแปรต้น คือ ศิลปะสร้างสรรค์
กิจกรรมการทำศิลปะสร้างสรรค์เพื่อวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ 5 เรื่อง
1. การบอกตำแหน่ง 5 ข้อ
2.การจำแนก 5 ข้อ
3.การนับ 5 ข้อ
4.การรู้ค่าจำนวน 5 ข้อ
5.การเพิ่ม - ลด 5 ข้อ
เพื่อวัดทักษะก่อนและหลังการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

แผนการสอน กิจกรรมสำรวจธรรมชาติ
1.กระตุ้นการเรียนรู้
- ครูให้เด็กออกไปสำรวจต้นไม้ ว่ามีจำนวนกี่ต้น
2.กรองสู่มโนทัศน์
- ครูสนทนากับเด็กโดยใช้คำถาม มีขนาดเท่าไหร่ เป็นเพราะอะไร
3.การพัฒนาด้วยศิลปะ
- ให้เด็กระบายสีภาพต้นไม้
4.สาระที่เรียนรู้ 
- สรุปให้ตัวแทนเด็กออกมาอธิบายครูและเด็กสรุปลักษณะของต้นไม้จากใบงาน


                   กิจกรรมที่ 2 นำเสนอสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้ "ถาดรองไข่" ของกลุ่มเรียน 121 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 


เกมบวก-ลบเลขมหาสนุก


เกมตกปลา


เกมภูเขาไฟระเบิด


เกมจับคู่สี ผลไ้ม้


เกมเรขาคณิตพาเพลิน


เกมยืดหยุ่นให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต


เกมจับคู่หรรษา


เกมเรียงสีและตัวเลข


ตราชั่ง (แกนกระดาษทิชชู่)


เกมวางฝาตามแบบ


ภาพรวมของการจัดกิจกรรมสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์จากเศษวัสดุเหลือใช้


 ทักษะที่ได้รับ
- การจัดวางนำเสนอสื่อให้สวยงาม 

 การนำมาประยุกต์ใช้
- การนำวัสดุเหลือใช้มาคิดสร้างสรรค์ในการทำสื่อได้เห็นว่าสิ่งต่างๆในตอนแรกมองภาพไม่ออกว่าจะสามารถทำเกมได้ พอได้ทำแล้วรู้สึกว่ามันมีประโยชน์มากเหมือนกัน
              
 บรรยากาศในห้องเรียน
- เป็นไปด้วยความหลากหลายของสื่อตื่นเต้นและสนุกกับการลองเล่นสื่อแบบต่างๆ
             
ประเมินวิธีการสอน    
อาจารย์สอนให้รู้จักการใช้ประโยชน์จากของเหลือใช้ วิธีการจัด รวมถึงภาชนะที่ใส่ก็ต้องออกแบบคิดให้สร้างสรรค์








การบันทึกครั้งที่ 14 
วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ.2561     เวลา 08:30 - 12:30  น.

เนื้อหาที่เรียน   
                     กิจกรรมที่ 1 อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนนำสื่อมาตรวจและดูความคืบหน้าของแต่ละคู่ และอาจารย์ก็แนะนำวิธีแก้ไขให้สมบูรณ์ 



วิธีการให้เด็กคิดวิเคราะห์ 
- ตั้งประเด็นปัญหา  ( เรื่องใกล้ตัวเด็ก )
- แตกประเด็นย่อย 

คิดวิเคราะห์ คือ การคิดปัญหาและแตกประเด็นย่อย 
 เช่น ตั้งประเด็นว่า ให้เด็กนำเอาสิ่งของที่รักหรือชอบมากที่สุดมาโรงเรียน  เด็กได้เอากบเหลาดินสอมา
 ผลการวิเคราะห์ของเด็ก  → เด็กสามารถบอกได้ว่า กบเหลาดินสอนี้คุณพ่อซื้อให้วันเกิดและมีความสวยงาม น่ารัก เหลาดินสอได้แหลม
                    
เครื่องมือและวิธีวัด
1. การสังเกต
2.ถามคำถามสนทนาพูดคุยกับเด็ก
3.ดูผลงานตามสภาพจริงของเด็กที่สะท้อนกับพัฒนาการของเด็ก
ก่อนการประเมินต้องวัดค่าก่อนและนำมาเปรียบเทียบกับพัฒนาการ หลังจากนั้น
หน้าที่ครูคือ  - นำมาปรับปรุงการสอนช่วยเหลือเด็กที่ไม่ผ่านมาตรฐาน
                       - นำบอกผู้ปกครอง

แบบบันทึก คือ เครื่องมือในการประเมินแบบทางการ
ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ( ความรู้สึก )  คือ เครื่องมือวัดแบบไม่เป็นทางการ


                    กิจกรรมที่ 2 การเรียนรู้คณิตศาสตร์จากเพลง


เพลงซ้าย - ขวา
 ยืนให้ตรงก้มหัวลงตบมือแผละ   แขนซ้ายอยู่ไหนหันหัวไปทางนั้นแหละ
→ เรียนรู้ตำแหน่งซ้าย - ขวา 

เพลงเข้าแถว
เข้าแถว  เข้าแถว  อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือนเดินตามเพื่อนให้ทัน  ระวังเดินชนกันเข้าแถวพลันว่องไว
→เรียนรู้ตำแหน่ง แถว  หน้าที่กิจวัตรประจำวัน  ความเร็ว - ช้า

เพลงสวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก  หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียน  หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย
→เรียนรู้เรื่องเวลา ยามเช้า  บทบาทหน้าที่ในกิจวัตรประจำวัน

เพลงจัดแถว 
สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อมาย้ายไปข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง
→เรียนรู้เรื่องตำแหน่ง การชูมือ

เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน  อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์
→เรียนรู้จำนวนของเดือนใน 1 ปี มี 12 เดือน และ 1 สัปดาห์มี 7 วัน การเรียงลำดับวัน

👉👉👉 เพลงต่างๆเหล่านี้เราสามารถนำไปปรับเนื้อหาหรือเปลี่ยนทำนองเพื่อใช้สอนเด็กในเรื่องต่างๆอีกได้มากมาย

   

                      กิจกรรมที่ 3 ตอบคำถาม  อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น เขียนตอบคำถามดังนี้   

1.เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
2.การอนุรักษ์ หมายถึง
3.เมื่อไหร่ที่รู้ว่าเด็กผ่านขั้นอนุรักษ์
4.สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของเด็ก
5.สาระที่ 6 ประกอบด้วยเรื่องอะไรบ้าง มีการกำหนดมาตรฐานหรือไม่
6.คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย จะรู้อะไรบ้าง



การประเมินผล


ทักษะที่ได้รับ 
  -  ทักษะการคิดวิเคราะห์และการประเมินผล
  - การเปลี่ยนเนื้อหาเพลง เพื่อให้เด็กแย้งตอบ มีความสนุกสนาน กล้า มั่นใจ คิดสร้างสรรค์
              
 การนำมาประยุกต์ใช้
  - เพลงต่างๆแค่เพลงเดียว สามารถนำมาทำได้เป็นหลายเพลงนำมาสอนเด็กได้

 ประเมินวิธีการสอน
   วันนี้เป็นการสอบเพื่อทบทวนความรู้ ดังนั้นความรู้ที่เราเรียนมาเข้าใจหรือไม่เข้าใจจะขึ้นอยู่กับเรา









วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2561


การบันทึกครั้งที่ 13 
วันพุธ ที่ 4 เมษายน 2561  เวลา 08.30-12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
                    
             กิจกรรมที่ 1   อาจารย์ดูความคืบหน้าของสื่อและปรับปรุงแก้ไขแผนของสื่อให้แต่ละกลุ่ม เพื่อให้ได้สื่อที่ออกมาสมบูรณ์แบบ และตรงตามความต้องการของเด็กปฐมวัยและตามทักษะการเรียนรู้คณิตศาสตร์  

การปรับแก้ของกลุ่มดิฉัน : ใช้ส่วนหัวของขวดน้ำแทนการวางของกรวยกระดาษ และบัตรเลขควรมีหลากหลายแบบเพื่อให้เด็กสามารถคิดเป็น และอุปกรณ์มีกล่องใส่ให้เรียบร้อย ตัววางที่เป็นรางไข่ทำฐานให้ติดกัน


 

 



เพื่อนๆ กลุ่มอื่นๆนำสื่อเสนออาจารย์ และฟังคำแนะนำไปปรับแก้ไข



               กิจกรรมที่ 2 การนำเสนอวิจัย ของ น.ส.สุจิณณา   พาพันธ์ เรื่อง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


เนื้อหา : ขั้นตอนรูปแบบการจัดประสบการณ์ มี 4 ขั้น ตัวอย่างหน่วยเงิน
 ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ  
1.ให้เด็กฟังเสียงเหรียญที่อยู่ในกล่อง
2.ให้เด็กอธิบายลักษณะของสิ่งที่อยู่ในกล่องว่าคืออะไร
3.ให้เด็กแยกประเภทของเงิน
4.ให้เด็กเลือกเงินไปคนละ 1 ชนิด 
5.ครูถามคำถามปลายเปิด
 ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน
6.ครูทำกิจกรรมเปิดขายสินค้าราคาถูก 
7.ให้เด็กๆจับกลุ่มเลือกสินค้ามาขาย
 ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัิกิจกรรม
8.เด็กๆนำของมาวางขาย และออกแบบร้านร่วมกัน
 ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวน
9.ทำบัญชี ราคาเท่าไหร่


              กิจกรรมที่ 3   การคาดคะเนลูกแก้วในขวดโหล ว่ามีลูกแก้วกี่ลูก และส่งต่อให้เพื่อนๆ ลองคาดคะเนกันครบทุกคน  สรุปทั้งหมดมี 19 ลูก และให้ตัวแทนเพื่อนออกมานับลูกแก้วใส่ในหลุมรางไข่ทีละ 1 ลูกและนับพร้อมๆกัน  

การเรียนรู้ ⇨  การคาดคะเน  การประมาณ
                ⇨   ถ้าสิ่งของชนิดเดียวกันจะประมาณได้ แต่หากสิ่งของต่างชนิดกันจะประมาณไม่ได้ เช่น ผัก ผลไม้ ชนิดต่างๆที่อยู่รวมกกัน


การนับและการดำเนินการ  
             การเพิ่มทีละ 1 ( แสดงให้เห็นว่ามีการเพิ่มเข้ามา โดยการนับ ชูขึ้นให้เห็น )
ตัวอย่างกิจกรรม
             เมนูอาหารที่ทำจากไข่ : การแยกประเภทไข่  จัดหมวดหมู่  จำนวนย่อยและรวม
             ปฏิทิน : ⇨ เรียนรู้การนับลำดับวัน 1 2 3 ...
                          ⇨ เรียนรู้วันสำคัญของเดือนนั้นๆ
                          ⇨ เรียนรู้คำศัพท์ของวันต่างๆ เช่น วันนี้  พรุ่งนี้  มะรืน  วันก่อน   2วันที่แล้ว  เป็้นต้น


ทักษะที่ได้รับ  :  วิธีการเรียนรู้คือการเล่น  ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเด็กสัมพันธ์กับสมอง เกิดการปฏิบัติจริงเมื่อครูให้เด็กลงมือทำ เมื่อทำสื่อหรือของเล่น ควรมีภาชนะบรรจุของเหล่านั้นเพื่อรักษาให้ดีดีงเดิม

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนรายละเอียดในแต่ละสาระเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น และ คอยแนะนำปรับแก้สื่อให้ทุกๆคน 













การบันทึกครั้งที่ 16 วันเสาร์ที่ 28  เมษายน พ.ศ.2561     เวลา 08:30 - 12:30 น. เนื้อหาที่เรียน                       กิจกรรมที่ ...