วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 6
วันพุธที่  21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561   เวลา 08:30 - 12:30 น.


เนื้อหาที่เรียน
        กิจกรรมแรกเป็นการนำเสนอ บทความ วิจัย และตัวอย่างการสอนตามลำดับเลขที่  
👉คนที่ 1 นางสาวอรอุมา  ศรีท้วม  นำเสนอบทความเรื่อง คณิตศาสตร์กับชีวิตจากนิตยสารรักลูก
สรุปได้ว่า : คณิตศาสตร์นั้นมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคคลในสังคมให้เกิดการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ การขาย การคำนวณสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานในการหาข้อสรุปเพื่อให้เกิดชิ้นงานต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อสิ่งที่บุคลต้องการให้เป็นไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกสบายที่เกิดขึ้น
               ทางการศึกษา เป็นการคำนวณหาค่าต่างๆทีเกี่ยวข้องกับการให้คะแนน วิจัย การทดลองโดยใช้ค่าทางสถิติเพื่อให้เกิดข้อค้นพบต่างๆในเชิงปริมาณเพื่อหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น


👉คนที่ 2 นางสาวขนิษฐา  สมานมิตร นำเสนอวิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ 5 ด้าน 
สรุปได้ว่า : การเรียนการสอนในรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรคเ์พื่อการเรียนรู้มีทกั ษะพ้ืนฐานทางคณิตศาสตร์กิจกรรมศิลปะเป็นกิจกรรมหน่ึงที่ช่วยส่งเสริมให้ เด็กได้ส ารวจค้นคว้า เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดริเริ่มและจินตนาการ อันจะส่งผลให้เด็กมี คุณลักษณะที่ส าคัญ ไดแ้ก่ความเป็ นเหตุเป็ นผล รู้จักการสังเกตช่วยให้เด็กรู้จกั สังเกตสิ่งรอบ ๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสีรูปทรง รูปร่าง พ้ืนผวิ พ้ืนที่วา่ ง น้า หนกั อ่อน-แก่ของสี 
ตัวอย่างแผนการสอน กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ
อุปกรณ์ : กระดาษ  สีน้ำ  น้ำ  ใบไม้หลากหลายชนิด ก้านกล้วย  กิ่งไม้
ขั้นนำ : ครูนำอุปกรณ์ขึ้นมาวางแล้วถามเด็กๆว่า '' อุปกรณ์นี้ใช้ทำอะไรได้บ้าง " 
ขั้นสอน : ครูแจกอุปกรณ์ แล้วทำตัวอย่างให้เด็กๆดู เด็กๆทำตามจินตนาการ โดยมีครูดูอยู่ใกล้ๆ
ขั้นสรุป : เด็กๆมีผลงานเป็นของตัวเอง 
การประเมินผล : → ครูสังเกตเด็กขณะที่ทำกิจกรรม
                      → ครูให้เด็กตอบคำถามสนธนา 
                      → ครูตรวจผลงานเด็ก 
🔺🔻แล้วหลังจากนั้นครูก็นำหลักการประเมินมาเทียบกับพัฒนาการของเด็ก


👉คนที่ 3 นางสาวบงกชกมล  ยังโยมร นำเสนอตัวอย่างการสอน ทรทัศน์ครู เรื่อง คณิตในชีวิตประจำวัน
สรุปได้ว่า : ครูให้เด็กทำกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เรื่องตัวเลข ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานไปกับการเรียนมากขึ้น มีการใช้สัญลักษณ์ท่าทางในการเรียน เด็กก็จะเริ่มรู้จักสัญลักษณ์นั้นๆ ใช้ภาษากายเพื่อให้เด็กเข้าใจ
ในคลิปเด็กเรียนรู้จำนวนตัวเลขจากจุดดำบนตัวแมลงเต่าทอง และดูการใช้ท่าทางของครู




กิจกรรมที่ 2 อาจารย์ให้ทายว่ารูปธงชาติมีสี่เหลี่ยมแบบใดและทั้งหมดมีกี่รูป


ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ตามหลักของเพียเจท์
เพียเจท์ได้แบ่งความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ตามพัฒนาการของเด็กออกเป็น 2 ชนิด
1. ความรู้ทางด้านกายภาพ คือ สิ่งที่อยู่รอบๆตัว
2.ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
ประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหา หรือ ทักษะ
1.การนับ ⇨ ใช้การบวกหรือการลบ
2.ตัวเลข ⇨ ฮินดูอารบิก ไทย
3.การจับคู่ ⇨ สิ่งที่ใช้ร่วมกัน , สัมพันธ์กัน , เหมือนกัน  ,ตรงกันข้าม 
4.การจัดประเภท ⇨ ใช้ลักษณะเป็นเกณฑ์
5.การเปรียบเทียบ ⇨ หาค่าเชิงปริมาณก่อน คือ นำสองสิ่งมาวางทับกันในแนวเดียวกัน ถ้าสิ่งใดเหลือแสดงว่าสิ่งนั้นใหญ่กว่าหรือมากกว่า
6.การจัดลำดับ ⇨การเรียงลำดับตามความต้องการ โดยจะเป็นการเรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
7.รูปทรงและเนื้อที่ ⇨ เช่นต้นคริสต์มาส แทน 🔺 
8.การวัด ⇨ ใช้เครื่องมือต่างๆ
9.เซต ⇨ สิ่งที่สัมพันธ์กัน เช่น เซตอาหาร
10.เศษส่วน ⇨ การแบ่ง เช่น แบ่งเค้กเป็นส่วนๆ 
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย ⇨ เช่น แพทเทิล  อนุกรม
12.การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ⇨  ลักษณะที่เท่าเดิม

หลักการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวทางการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
1.เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง เริ่มจากการสอนแบบรูปธรรม 
          1.1 ขั้นใช้ของจริง
          1.2 ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง
          1.3 ขั้นกึ่งรูปภาพ
          1.4 ขั้นนามธรรม
2.เริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆ ใกล้ตัวเด็กจากง่ายไปหายาก
3.สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้จำ
4.ให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็กเพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
5.จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนานและได้รับความรู้ไปด้วย
6.จัดกิจกรรมให้เข้าใจในขั้นตอนให้มีประสบการณ์ให้มาก และสรุปกฎเกณฑ์เพื่อจำเป็นอันดับสุดท้าย
7.จัดกิจกรรมทบทวนโดยตั้งคำถามให้ตอบปากเปล่าหรือสร้างเรื่องราวให้คิดซ้ำส่งเสริมให้เด็กคิดปัญหาและหาเหตุผล ข้อเท็จจริง


ทักษะที่ได้รับ
            การเตรียมตัวที่ดีก่อนที่จะนำเสนองาน เช่นงานวิจัย ข้อมูลต้องถูกต้องและครบถ้วน มีผลการสรุปที่ชัดเจน มีแผนการสอนและตัวอย่างที่ชัดเจน
            
การนำมาประยุกต์ใช้ 
            สามารถนำไปใช้ในการนำเสนองานในวิชาอื่นๆได้ดี

บรรยากาศในห้องเรียน
            ไม่ค่อยผ่อนคลาย มีเนื้อหาที่เรียนเยอะ 

ประเมินวิธีการสอน
            การสอนมักใช้วิธีการคิดที่สำคัญ ให้แสดงออกและแสดงความคิดเห็นได้ตอบคำถามกันทุกคน สนใจผู้เรียนทุกคน

ภาพบรรยากาศในห้องเรียน











วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561


การบันทึกครั้งที่ 5

วันพุธที่  2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561   เวลา 08:30 - 12:30 น.

เนื้อหาที่เรียน 
           กิจกรรมที่ 1 การนำเสนอบทความ  วิจัย  และตัวอย่างการสอน ตามลำดับเลขที่
คนแรก นางสาวสุภาวดี  ปานสุวรรณ นำเสนอบทความเรื่อง...คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
🌑 เด็กเรียนรู้ผ่านการสัมผัส และต้องได้ลงมือกระทำ  การจัดการเรียนรู้เน้นคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นหลัก  ข้อเสนอแนะจากอาจารย์  ควรมีการนำเสนอที่พร้อมทั้งการพูดและมีข้อมูลให้เพื่อนๆดู เช่นพาเวอร์พอยท์ หรือรูปแบบอื่นๆมาสนับสนุน


คนที่ 2 นางสาววิภาพร  จิตอาคะ  นำเสนอวิจัยเรื่อง ...การพัฒนาพื้นฐานทางคณิตศาตร์
🌑การเล่นซ่อนหา  เด็กได้พัฒนาการนับ ได้หลายรูปแบบ  เล่นก้านกล้วย  เด็กได้ฝึกบทบาทสมมติทักษะการคิดและก็ได้การบอกตำแหน่ง บน ล่าง  ข้อเสนอแนะจากอาจารย์  ควรมีแผนการจัดประสบการณ์ แผนการจัดกิจกรรม  และแผนการจัดการเรียนการสอน 


คนที่ 3 นางสาวอุไรพร  พวกดี นำเสนอตัวอย่างการสอน เรื่อง...เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์
ครูจอยได้นำเทคนิคมาเล่าสู่กันฟังในรายการ talk about  kids  ข้อเสนอแนะจากอาจารย์  รายการที่ยกมาไม่ใช่การสอนแต่เป็นรายการที่แนะนำของเล่นที่เสริมพัฒนาการเด็ก 
หลังจากนั้น อาจารย์ได้เปิดหาตัวอย่างการสอนที่ถูกต้องให้ดูและแนะนำการหาตัวิย่างการสอน



            กิจกรรมที่ 2 การจับคู่ 1 ต่อ 1 โดยอาจารย์ได้แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น กระดาษเหลือ 5 แผ่น แสดงว่าจำนวนกระดาษมากกว่าจำนวนคน จึงเขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ดังนี้





           กิจกรรมที่ 3 การสำรวจความชอบอาหารอีสานระหว่างส้มตำกับลาบไก่ โดยให้นักศึกษาในห้องออกมาใส่เครื่องหมายตามฝั่งอาหารที่ชอบ  คือการจับคู่แบบ 1 : 1 เป็นการเปรียบเทียบเรื่องจำนวนมากกว่าน้อยกว่า ผลสรุปคือ คนที่ชอบส้มตำมีจำนวนมากกว่าลาบไก่



            กิจกรรมที่ 4 ให้เขียนตอบคำถามเราใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน เพื่อการเปรียเทียบในการตัดสินใจ 



           กิจกรรมที่ 5 ให้ฟังจังหวะดนตรี ละทำท่าทางประกอบเพื่อกำหนดจังหวะของเราเอง และให้เขียนสัญลักษณ์กำกับจังหวะดนตรีของตัวเองหลังจากนั้น ก็นำไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆแล้วให้เพื่อนเติมสัญลักษณ์ตามที่เราเว้นไว้ว่าถูกต้องหรือไม่





ทักษะที่ได้รับ
            การคิดคณิตศาสตร์แต่ละเรื่องอย่างมี concept เพื่อให้เด็กเข้าใจได้ง่ายและสนุกกับคณิตศาสตร์มากกว่าการท่องจำ
            
การนำมาประยุกต์ใช้ 
           การนำทักษะการคิดเป็น concept  มาใช้กับการสอนเด็กอนุบาลได้ในอนาคต

บรรยากาศในห้องเรียน
           สนุกสนาน ตื่นเเต้นกับการตอบคำถามและพูด 

ประเมินวิธีการสอน
            อาจารย์จินตนาสอนเรื่องคณิตศาสตร์ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันและเปิดโอกาสให้นักศึกษาลงมือทำและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่

คุณธรรมจริยธรรม
            ตรงต่อเวลา 
            ยอมรับความคิดเห็นของกันและกัน

ภาพกิจกรรมในห้องเรียน








วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561


การบันทึกครั้งที่ 4

วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ.2561   เวลา 08:30 - 12:30 น.


เนื้อหาที่เรียน
          กิจกรรมที่ 1 อาจารย์จินตนาได้ตรวจดูบล็อกของแต่ละคนตามลำดับเลขที่เพื่อดูความเรียบร้อยและดูว่าของใคร ขาดตกบกพร่องตรงส่วนไหนบ้าน ก็ให้ไปปรับแก้ เช่น วิจัยที่หามา ต้องเป็นวิจัยที่มี 5 บท ไม่เก่าจนเกินไป และ โครงสร้างบล็อกควรจัดอย่างไร รวมไปถึงตัวอักษร ต้องอยู่กึ่งกลาง ไม่ตกหล่น และควรใส่องค์ประกอบให้ครบ เช่น แหล่งเรียนรู้  เพลง เกม  นิทาน  เป็นต้น



        
           ต่อมาอาจารย์จินตนาให้เลขที่ 1, 2, 3 ออกมานำเสนอ บทความ วิจัยและตัวอย่างการสอน ตามประเภทที่ได้ ให้เพื่อนฟัง  เนื่องจากโปรเจกเตอร์มีปัญหาเลยทำให้ไม่สามารถโชว์ภาพเนื้อหาบล็อกที่เพื่อนนำเสนอ แต่ด้วยความไม่พร้อมของนักศึกษาบางคนเลยทำให้การนำเสนอครั้งแรกเป็นการดูตัวอย่างเพื่อนที่ออกมาก่อน เพื่อปรับปรุงและออกมานำเสนอใหม่ในครั้งหน้า 







ความรู้ที่ได้จาากการนำเสนอตัวอย่างการสอน ของนางสาว อภิชญา  โมคมูล   เลขที่ 3  
เรื่อง... การปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนในประเทศสิงคโปร์  
สรุปความรู้ที่ได้ฟัง   ⇨  ในประเทศสิงคโปร์  โรงเรียนแห่งหนึ่งจัดการเรียนการสอนให้เด็กได้เรียนรู้จากของสิ่ง  เช่น การนำแอปเปิ้ลมาวาง ให้เด็กได้จับต้องได้ ดมกลิ่นได้  ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของบรูเนอร์คือการให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเรียนรู้จากของจริงและเกิดการค้นพบด้วยตนเอง


กิจกรรมที่ 2   อาจารย์จินตนาแจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ได้เรียนรู้การแทนสัญลักษณ์จากการแจกกระดาษ   ถ้าเขียนสัญลักษณ์แทนจำนวนมากกว่าและน้อยกว่าจะแทนค่าอย่างไร
" กระดาษมากกว่าคน  แสดงว่าถ้าสิ่งใดเหลือแปลว่ามีจำนวนมากกว่า  การคิดควรคิดให้เป็นคณิตศาสตร์  คือ เอาตัวเลขไปแทนกระดาษกับคน  → กระดาษ มี 23  แผ่น คน มี 20 คน "

ใช้สัญลักษณ์แทนค่าได้ดังนี้   ➤  กระดาษ     >     คน 
                                                          23       >     20  อยู่  3
                                                          23   -   20   =    3
นอกจากนี้ หากไม่ใช้สัญลักษณ์แบบข้างต้น สามารถวาดภาพ 👿  หรือจุด แทนจำนวนให้เด็ดเรียนรู้ได้

➤  ต่อมาอาจารย์ให้พับกระดาษเป็น 2 ส่วน  จะออกมาในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งก็แปลว่าสามารถพับได้หลากหลายรูปแบบ  เช่นเดียวกับคณิตศาสตร์ที่สามารถแก้ปัญหาได้หลายรูปแบบเช่นกัน



ภาษา  เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
คณิตศาสตร์   เป็นเครื่องมือที่ใช้แก้ปัญหา และหาคำตอบได้หลายวิธีการ
การจัดประสบการณ์      คณิตศาสตร์    เด็กปฐมวัย   ➯ สำคัญที่สุดการจัดการเรียนการสอนต้องดูที่เด็กก่อนว่ามีความพร้อมและมีพัฒนาการตามวัยอย่างไร

➤ ต่อมาอาจารย์ให้วาดภาพแทนความหมายและลักษณะของคำว่าพัฒนาการ
ความหมายของคำว่า  พัฒนาการ  คือ  พฤติกรรมของเด็กที่แสดงออกในแต่ละระดับอายุ
ลักษณะของพัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ภาพพัฒนาการของเด็ก
ที่มา https://nameberry.com/blog/boys-names-2012-nameberrys-top-100

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขั้นบันได 
➤ ขั้นบันได  สามารถบอกได้ว่า ลักษณะเป็นไปอย่างต่อเนื่องตาม ลำดับขั้น  

➤ในวัยเด็กแรกเกิด - 2 ปี เด็กวัยนี้มีการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 มากที่สุด เพราะเป็นช่วงที่เด็กเจริญเติมโตได้ค่อนข้างไว สังเกตการเรียนรู้ของเด็กได้จากการ ส่งเสียงร้อง อ้อแอ้  จับแตะ สิ่งของ ขว้าง ปา  กัด  เลีย ดูด มองตามของตก เป็นต้น  และมีการรวบรวมการมีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติ เก็บรวบรวมไปยังสมอง

ซึ่งกระบวนการทำงานของสมอง มี 3 ขั้น

ขั้นที่ 1 เซนท์ซิลิมอเตอร์  ➨  เด็กอยากรู้อยากเห็น  สัมผัส   ชิมรส
ขั้นที่ 2 แอดซิเมเลชั่น  ➨   เด็กซึมซับจากประสบการณ์ใหม่ และปรับให้เข้ากับประสบการณ์เดิม
เช่น  การหยดสีลงบนกระดาษเปียก  เด็กหยดสีแดง  กับสีน้ำเงินลงไป  = ประสบการณ์เดิม
สีแดงวิ่งเข้าหาสีน้ำเงินทำให้เกิด สีม่วง  เด็กเห็นสีม่วง = ประสบการณ์ใหม่ 
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก คือ  เด็กเกิดการเรียนรู้ 

หลักการจำ    ➪ถ้ารับรู้ แล้วเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่าเกิดการเรียนรู้
                        ➪ถ้ารับรู้แล้วไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่าแค่รับรู้อย่างเดียว
ขั้นที่ 3 ขั้นอนุรักษ์ ➨ เด็กตอบตามเหตผล  คือตามที่เด็กเห็น  เช่น การทดลองน้ำในขวด ของเพียเจต์
➤เพียเจต์ได้นำหลักการนี้มากจาก การทำงานของสมอง จับกับอายุของเด็ก เกิดเป็นพฤติกรรม

  

          
ทักษะที่ได้รับ
           การคิดแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์
           การใช้คณิตศาสตร์ในการดำรงชีวิต
           การคิดอย่างมีลำดับขั้น ต่อเนื่อง
           
การนำมาประยุกต์ใช้ 
           การนำทักษะการคิดไปประกอบการเรียนการสอนในอนาคตเมื่อเจอเหตุการณ์ต่างๆ

บรรยากาศในห้องเรียน
           วันนี้เคร่งเครียดกับการเรียนและการตอบปัญหา  ที่ต้องใช้การคิดอย่างรอบคอบก่อนจะตอบ  บรรยากาศเลยดูเครียด เพราะอาจารย์จริงจังกับการสอนมาก

ประเมินวิธีการสอน
            อาจารย์จินตนาจริงจังกับการสอนมากและอยากให้นักศึกษาเข้าใจและตอบได้ เมื่อในอนาคตข้างหน้าจะต้องเป็นครูและนำไปสอนเด็ก

คุณธรรมจริยธรรม
            การตรงต่อเวลา
            การคิดอย่างรอบคอบ



       

ภาพกิจกรรม  








การบันทึกครั้งที่ 16 วันเสาร์ที่ 28  เมษายน พ.ศ.2561     เวลา 08:30 - 12:30 น. เนื้อหาที่เรียน                       กิจกรรมที่ ...