วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2561


การบันทึกครั้งที่ 11 
วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2561  เวลา 08.30 -  12.00 น.

เนื้อหาที่เรียน
                   กิจกรรมที่ 1  การนำเสนอบทความ   วิจัย และตัวอย่างการสอน ให้เพื่อนๆและอาจารย์ฟัง


คนที่ 1 นางสาวณัฐธิดา  ธรรมแท้  นำเสนอ ตัวอย่างการสอน เรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรียนรู้เรื่องจำนวนมากกว่า น้อยกว่า 
เนื้อหา ให้เด็กได้นับจำนวนสิ่งของจริงๆ เช่น หลอด ไม้ไอศครีม เมื่อเด็กรู้จำนวนแล้วให้เด็กนำเลขไปวาง เพื่อให้เด็กรู้ค่าและสามารถเชื่อมโยงได้ระหว่างจำนวนกับตัวเลข หลังจากนั้นเด็กก็จะรู้ค่าจำนวนว่าสองจำนวนไหนมีค่ามากกว่ากัน  เนื่องจากเด็กนับเลขด้วยปากเปล่าได้แต่ไม่รู้ค่าจำนวนว่ามีค่าเท่าได การให้เด็กได้นับจากของจริงจึงทำให้เด็กเข้าใจง่ายกว่า เห็นอย่างไรเด็กก็บอกอย่างนั้น
→  การเอาออกทีละ 1 คือการนับจำนวนมากกว่าน้อยกว่า

ข้อแนะนำเพิ่มเติม  การสอนควรทำให้เด็กเชื่อมโยงชีวิตประจำวันได้ ควรมีการเลือกหน่วยการเรียน เช่น หน่วยผัก หน่วยผลไม้ การสอนเด็กปฐมวัยควรสอนแบบบูรณาการเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ทุกด้านอย่างครอบคุลมและเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ มากกว่าการสอนแบบรายวิชา ส่วนการแบบนับจำนวนดังที่กล่าวมาในตัวอย่างการสอนเป็นเพียงเทคนิควิธีการที่นำไปเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ สู่คณิตศาสตร์



คนที่ 2 นางสาวปวีณา    พันธ์กุล  นำเสนอบทความเรื่อง วิธีเรียนคณิตศาสตร์ในครัวกับคุณแม่
เนื้อหา  การทำอาหารร่วมกัน เด็กได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติด้วยตนเอง โดยมีการพัฒาเด็กแบบองค์รวม

มี 4 ด้าน   1. ด้านร่างกาย                 ⇒  เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก หยิบ ตัก สิ่งต่างๆ
                2. ด้านอารมณ์ - จิตใจ      ⇒  เด็กมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ ทำให้จิตใจเบิกบาน สนุกสนาน                                                               เกิดความภาคภูมิใจที่ได้ทำ
                3. ด้านสังคม                   ⇒  เด็กได้เรียนรู้ร่วมกับคนรอบข้าง คือคนในครอบครัว 
                4. ด้านสติปัญญา             ⇒  เด็กได้คิดตาม จินตนาการ และเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการทำ

เครื่องมือที่ใช้เป็นทางการ     เครื่องชั่ง  ตวง วัด ปริมาณต่างๆ 
การพิมพ์ภาพ      เป็นการออกแบบและดีไซร์ 
ในการสอน    ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับเด็กและ เครื่องมือที่ใช้จะต้องปลอดภัย



คนที่ 3 ดิฉันนางสาวณัฐชา   บุญทอง   ได้นำเสนอบทความเรื่อง เลขคณิตคิดสนุกแนะพ่อแม่สอนลูกๆจากกิจกรรมในบ้าน
เนื้อหา  เคล็ดลับตัวอย่างกิจกรรมที่สามารถแนะนำพ่อแม่สอนลูกๆได้ เช่น 
              กิจกรรมที่ 1 ให้ผู้ปกครองและเด็กทำเยลลีด้วยกัน เด็กก็จะได้เรียนรู้ทักษะการชั่ง ตวง วัด ว่าหากต้องการผงเยลลีเท่านี้ ผสมน้ำเท่านั้น จะมีวิธีตวงได้อย่างไร หรืออาจพลิกแพลงสูตรที่ต่างออกไป เช่น ลองใส่น้ำมากขึ้นหรือน้อยลง และเยลลีที่ได้จะมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง เด็กก็จะได้เรียนรู้อีกว่าควรจะใส่ส่วนผสมปริมาณเท่าไหร่จึงจะได้เยลลีที่อร่อย
             กิจกรรมที่ 2 การประดิษฐ์กล่องของขวัญ เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะอีกมากมายจากการประดิษฐ์กล่องสัก 1 ใบ เริ่มแรกอาจนำกล่องที่มีอยู่แล้ว มาแกะและพิจารณาดูว่าเขาทำอย่างไร จึงได้เป็นกล่องใบนั้นขึ้นมา แล้วจากนั้นจึงทดลองทำกล่องใบใหม่ ซึ่งการทำกล่องก็จะต้องมีการวัดสัดส่วน วัดมุม เพื่อให้ได้ขนาดกล่องตามที่ต้องการ และครั้งต่อไปก็อาจปรับเปลี่ยนรูปแบบกล่องที่ซับซ้อนมากขึ้น
             การเล่นเกมก็มักมีกลยุทธที่ช่วยให้ชนะได้ง่ายขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เด็กจะยังไม่รู้ในตอนแรก และผู้ปกครองเองก็ไม่ควรบอก แต่ปล่อยให้เด็กค่อยๆ เรียนรู้ด้วยตัวเอง 



กิจกรรมที่ 2   การนับลูกบอลสี  คาดคะเนว่ามีกี่ลูก → ทั้งหมดมี 42 ลูก 


      

😁 การแยกออกจากกัน  อยู่ในกรอบคณิตศาสตร์มาตรฐานที่ 1 การนับจำนวนและการดำเนินการ
😁 การนับใส่กล่องพร้อมกัน ให้รู้จำนวนลูกบอลว่ามีเท่ากัน
😁 การคาดคะเนว่ามันน่าจะมีอยู่กี่ลูก กี่ผล กี่อัน แล้วนำมานับให้เด็กรู้จำนวน และใช้สัญลักษณ์กำกับเป็นตัวเลขฮินดูอารบิก
😁  การแยกออกจากกลุ่มใหญ่ให้แยกสีที่นับนั้นออกมาวางข้างหน้าให้เห็นชัดๆ 
 มีสีเหลือ 5 ลูก แล้วนับสีที่เหลือมี 15  ลูก
😁 การจับคู่สีเหลืองกับที่ไม่ใช่สีเหลือง เมื่อนับลงกล่องสีเเหลืองหมดแสดงว่าสีอื่นๆมีมากกว่า

         
😁 อาจารย์แจกลูกบอลคนละลูกแล้วให้คิดกิจกรรมว่าทำอะไรได้บ้าง
       - คาดคะเน
       - ความน่าจะเป็น
       - วัดระยะจากคืบ หรือศอก
       - การเล่นอนุกรม
ข้อคิดที่ได้คือการสร้างสรรค์และการทำไปใช้แทนอย่างอื่น



กิจกรรมที่ 3  การสร้างรูปภาพสัมพันธ์ ให้ออกมาหยิบส่วนที่ตัดออกไปมาต่อกับ แบบที่ตัดให้ถูกต้อง

      

ต่อมาเป็นการวาดตาราง 10 ช่อง ให้ครบทุกด้านแล้วแรเงา ภาพสี่เหลี่ยมให้ได้รูปทรงต่างๆตามต้องการ




ทักษะที่ได้รับ 
            การนำเสนอสิ่งๆต่างๆควรมีข้อมูลครบถ้วน 
            การคิดสร้างสรรค์และการลงมือทำ
            การสอนคณิตศาสตร์ต้องมีกรอบแบบแผนตามที่กำหนดไว้อย่างถูกต้องตรงกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย

การนำมาประยุกต์ใช้ 
            นำมาใช้ในการคิดและจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

บรรยากาศในห้องเรียน
           เพื่อนๆตั้งใจกันทำงานที่ได้รับมอบหมาย สนุกสนานเพลิดเพลิน

ประเมินวิธีการสอน
          เน้นการเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้จริง 




การบันทึกครั้งที่ 10 
วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2561  เวลา 08:30 - 12:30 น.

เนื้อหาที่เรียน
               วันนี้เป็นการทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาเมื่อคาบที่ผ่านมา คือเรื่องมาตรฐานคณิตศาสตร์ทั้ง 6 สาระ อาจารย์ได้อธิบายทวนอีกครั้งเพื่อความเข้าใจและหลังจากนั้นก็ได้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความ วิจัย และตัวอย่างการสอน



          คนแรก นางสาวชาณิศา   หุ้ยทั่น  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่  ปริญญานิพนธ์ ของ กมลรัฒน์   กมลสุทธิ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาการศึกษาปฐมวัย ปี 2555

ความมุ่งหมาย : เด็กที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลักการทดลองสูงกว่าการทดลอง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ : อายุระหว่าง 4-5 ปีซึ่งศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนพระแม่มารี กรุงเทพมหานคร จำนวน 12 คน
สรุปผลการวิจัย : ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิคศาสตร์ ตามแนวมอนเตสซอรี่อยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวมและรายด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านการจำแนก การเรียงลำดับและการนับ





        คนที่ 2  นางสาวรัติยากร   ศาลาฤทธิ์  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะทางคณิตศาสตร์การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ   โดย กาญจนา ทับผดุง และ สุภาวิณี  สัตยาภาณ์  
หน่วยแผนการสอนจะเป็นดังนี้ 
1. บ้านน่าอยู่ จำนวน 5 ชั่วโมง
2. สัตว์น่ารู้    จำนวน 5 ชั่วโมง
3. อาชีพที่ควรรู้จัก  จำนวน 5 ชั่วโมง
4. ฤดูกาล     จำนวน 5 ชั่วโมง




       คนต่อมา  นางสาวสุภาภรณ์   วัดจัง  นำเสนอวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮสโคป  



       ตนต่อมา นางสาววิจิตรา   ปาคำ  นำเสนอตัวอย่างการสอนเรื่อง กิจกรรมปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวเด็ก โดยครูอัมพรรณี สาลีวรรณ์  เป็นการสอนกิจกรรมหลักทั้ง 6 อย่าง เกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติรอบตัวเด็ก สอดคล้องกับคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการนับ การเปรียบเทียบ การจำแนก การเรียง
ลำดับ เป็นต้น




       คนสุดท้าย นางสาวปรางทอง   สุริวงษ์  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร   โดย ศุภนันท์   พลายแดง  วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ปี 2553
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ : เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี โรงเรียนมิตรภาพที่ 34 จำนวน 30 คน
สรุป : การจัดกิจกรรมการประกอบอาหารสามารถส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุก ๆ ด้านให้แก่เด็กปฐมวัย ซึ่งสอดคล้องกับ 
เคลฟสเต็ด (Klefstad 1995 : 33 อ้างถึงใน วลัย สาโดด, 2549 : 42) ได้กล่าวถึง ประโยชน์ของกิจกรรมประกอบอาหารไว้ว่า ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ ด้านการวัด การกะปริมาณ การเปรียบเทียบ  มากกว่า – น้อยกว่า    เต็ม – ว่างเปล่า    และจำนวนนับเนื่องมาจากเด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
          เพียเจต์ (piaget, 1896 อ้างถึงใน หรรษา นิลวิเชียร, 2535 : 41 – 42 )
กล่าวว่า การจัดประสบการณ์ตรงโดยให้เด็กมีอิสระในการคิด การแสดงออก จะทำให้เด็กเข้าใจได้เร็วขึ้น

เพียเจต์ (piaget, 1896 อ้างถึงใน หรรษา นิลวิเชียร, 2535 : 41 – 42 )
กล่าวว่า การจัดประสบการณ์ตรงโดยให้เด็กมีอิสระในการคิด การแสดงออก จะทำให้เด็กเข้าใจได้เร็วขึ้น





ทักษะที่ได้รับ
               ความรู้ใหม่ๆที่เพื่อนนำมาพูดในวันนี้ เป็นความรู้ใหม่ที่เราควรจำ และสามารถนำมาใช้ในการสอนได้จริง

การนำมาประยุกต์ใช้
               - การสอนเด็ก
               - นำมาประยุกต์ใช้ในการสอน / ในชีวิตจริง

บรรยากาศในห้องเรียน
               วันนี้นักศึกษาติดธุระเรื่อง กนศ. จำนวนมากจึงทำให้ห้องเรียนมีจำนวนคนที่น้อย และบรรยากาศจึงเป็นไปอย่างราบรื่น เงียบมาก

ประเมินวิธีการสอน
               - การตอบคำถาม
               - การถามตอบ/รายบุคคล
               - ผลงาน

คุณธรรมจริยธรรม
               - การตั้งใจเรียน
               - การร่วมมือกันในชั้นเรียน
               - เข้าเรียนตรงเวลา




หมายเหตุ : เนื่องจากวันนี้ดิฉันติดเข้าอบรม กยศ กับเพื่อนอีก 6 คน จึงไม่ได้เข้าเรียนในวันนี้ได้  ดิฉันจึงสรุป Blogger โดยดูแบบอย่างจากนางสาวปรางทอง  สุริวงษ์


      

การบันทึกครั้งที่ 9
วันพุธที่  14 มีนาคม  พ.ศ.2561   เวลา 08:30 - 12:30 น.


เนื้อหาที่เรียน
            
            มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์  คือ เกณฑ์ที่กำหนดไว้ในการประเมินการเรียนรู้               เป็นขั้นต่ำสุด หรือ ครึ่งหนึ่ง
            สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์  เป็นหลักที่ต้องปลูกฝังให้แก่เด็ก ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ ในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน จึงได้รวบรวมสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ไว้ดังนี้

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
          - จำนวนนับใช้บอกจำนวนสิ่งต่างๆ ( ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ ) 
          - จำนวน 2 จำนวน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่า และน้อยกว่า  อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
          - การแยกเป็นการนำสิ่งต่างๆออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ
ตัวอย่างกิจกรรม เช่น การนับจำนวนคนในห้องเรียน เมื่อนับให้ยกมือขึ้นเพื่อแสดงการเพิ่มของจำนวนทีละ 1 หรือการจับตัวเลขจากกล่องให้เด็กดูทีละ 1  จำนวน = ปริมาณ 

สาระที่ 2 การวัด 
          - การวัดความยาว ควาสูงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
          - การเรียงลำดับความยาว ความสูงของสิ่งต่างๆ จากน้อยไปหามาก หรือ มากไปหาน้อย
          - การวัดน้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา 
ตัวอย่างกิจกรรม เช่น  การวัดความยาว ความสูง ของแผ่นกระเบื้อง
                                การเรียงลำดับปริมาณน้ำในขวดจากน้อยไปหามาก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเรียงลำกับน้ำในขวด

สาระที่ 3 เรขาคณิต
          - คำที่ใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง คือ ข้างบน ข้างล่าง ข้างซ้าย ข้างขวา ข้างหน้า ข้างหลัง  ใกล้ ไกล 
          - การจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยม ทรงกระบอก รูปวงกลม วงรี สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ดูจากรูปร่างและขอบของรูป
ตัวอย่างกิจกรรม เช่น การจำแนกรูปเรขาคณิต รูปทรงกับรูปร่าง
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
สาระที่ 4 พีชคณิตศาสตร์ 
         - แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด ของจำนวนรูปเรขาคณิต หรือสิ่งต่างๆ
ตัวอย่างกิจกรรม เช่น วงกลมแทนลูกบอล  สามเหลี่ยมแทนหมวก สี่เหลี่ยมแทนกระเบื้อง
                              
 สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 
         - เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต หรือสอบถาม
ตัวอย่างกิจกรรม   เช่น จับคู่ภาพผลไม้และเงา       
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
 สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 
         - การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การนำเสนอ เชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ มีความคิดสร้างสรรค์ 
ตัวอย่างกิจกรรม   เช่น เกมรูปทรงไหนใหญ่ที่สุด
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมรูปทรงไหนใหญ่ที่สุด

ภาพกิจกรรม





ทักษะที่ได้รับ 
         การนำสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ในแต่ละสาระมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยและการประเมินผลตามพัฒนาการของเด็ก

การนำมาประยุกต์ใช้ 
            นำมาใช้ในการคิดและจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

บรรยากาศในห้องเรียน
           เพื่อนๆตั้งใจกันทำงานที่ได้รับมอบหมาย

ประเมินวิธีการสอน
            อาจารย์ได้สอนแต่ละสาระให้เข้าใจอย่างละเอียดและให้คิดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสาระนั้นๆ

วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2561


การบันทึกครั้งที่ 8
วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์  พ.ศ.2561   เวลา 08:30 - 12:30 น.


เป็นสัปดาห์ของการสอบ จึงไม่มีการเรียนการสอน

วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2561


การบันทึกครั้งที่ 7
วันพุธที่  7 มีนาคม  พ.ศ.2561   เวลา 08:30 - 12:30 น.


เนื้อหาที่่เรียน
          กิจกรรมวันนี้เป็นการนำเสนอบทความ  และตัวอย่างการสอน ตามลำดับเลขที่
คนที่ 1. นางสาววสุธิดา  คชชา  นำเสนอบทความเรื่อง  สอนคณิตศาสตร์อย่างไรให้สนุก (สำหรับเด็กปฐมวัย)  สรุปได้ว่า : สำหรับเด็กปฐมวัย คณิตศาสตร์ในความคิดของเด็กดูเหมือนยาก แต่เราสามารถจัดการเรียนรู้อย่างสนุกสนานไม่เครียดไปพร้อมกับเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้และเหมาะสมตามวัย เด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านการเล่นและได้สัมผัสสิ่งต่างๆ เพื่อให้เด็กเกิดการจดจำที่ยาวนานการจัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้อย่างสนุกโดยจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้สื่อที่เป็น รูปภาพ ของจริง บล็อค ตัวต่อ และจัดกิจกรรมส่งเสริมการคิดในเรื่องของการจำแนก เปรียบเทียบ รูปทรง ใช้วิธีการจัดกิจกรรมกลุ่มให้เด็กได้เรียนรู้ร่วมกันและรู้จักสังเกตช่วยเหลือ
⇨ หลักการสอนให้สนุกของกิจกรรมนี้ คือ อยู่บนพื้นฐานสิ่งที่ควรคำนึงเกี่ยวกับตัวเด็ก 
1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2.บุคคลและสถานที่
3.ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
วิธีการสอนที่เกิดจากครู ⇨ อันดับแรก การเลือกเรื่องที่จะสอนให้ใกล้ตัวเด็กมากที่สุด อันดับที่ 2 เรื่องที่มีผลกระทบเกี่ยวกับตัวเด็ก
เรื่องที่เกิดจากเด็ก ⇨ เรื่องที่เด็กสนใจ นำไปสู่ Project Approach 
กิจกรรมที่ครูสอนนี้ อยู่ในหัวข้อ ธรรมชาติรอบตัว เพราะเป็นสอนให้จำแนกเกี่ยวกับดอกไม้
คำนิยาม คือ การให้เด็กลงมือกระทำโดยที่เด็กมีอิสระ
การเกิดการเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
indigrad คือ การเรียนรู้จากหน่วยต่างๆ ที่จะสอนคณิตศาสตร์
👉👉หลักการจำแนกดอกไม้ 
                ชนิดของดอกไม้  → ใช้ชื่อเป็นเกณฑ์
                สีของดอกไม้      → แบ่งเป็น 2 พวก เช่น ดอกที่มีสีแดง กับดอกที่ไม่มีสีแดง
                กลิ่นของดอกไม้  → มีกินเหม็น  มีกลิ่นหอม กับไม่มีกลิ่น
ความรู้ที่ได้รับทางด้านวิทยาศาสตร์ เรื่อง กลิ่นและสี  ความรู้ที่ได้รับด้านคณิตศาสตร์ เรื่องการจำแนก 
มาก น้อย คือจำนวนนับเชิงปริมาณ 
🔺 เปิดโอกาสให้เด็กนับ - จำนวน  นำตัวเลขฮินดูอารบิกมาใช้

นับ  -  จำนวน  -  ตัวเลขอารบิก
นำมาเปรียบเทียบ  สำหรับเด็กการเปรียบเทียบทำให้เด็กได้รู้  ว่ามากที่สุดกับน้อยที่สุด เป็นอย่างไร



คนที่ 2.นางสาวกิ่งแก้วทนนำ  นำเสนอตัวอย่างการสอน เรื่่อง รายการโทรทัศน์เพื่อเด็กปฐมวัย ป.ปลา ตากลม ตอนที่32 รูปทรงแปลงร่าง 27 เม.ย. 2011 ครูหน่อย 
สรุปได้ว่า  : ขั้นนำ ครูถามเด็กๆว่ารู้จักรูปทรงใดบ้างในชีวิตประจำวันรอบตัวเด็ก เพื่อทดสอบความรู้เดิมที่เด็กมีเกี่ยวกับรูปทรง
ขั้นสอน ให้เด็กหลับตาสัมผัสสิ่งของที่คุณครูเอามาว่ามีรูปทรงใดบ้าง
-ต่อมาให้เด็กๆนำรูปทรงไปแปลงร่างเป็นรูปต่างๆ ขึ้นอยู่กับความคิดจินตนาการของเด็กเอง ให้เด็กได้ลองทำ และใช้ความคิดสร้างสรรค์
การสอนรูปร่างรูปทรงมีประโยชน์ต่อเด็กคือ 
*เด็กได้ฝึกใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ ให้รู้จักสังเกต และแก้ปัญหา 
*เด็กได้ฝึกคิดค้นประดิษฐ์สิ่งต่างๆตามความคิดของเขา
*การส่งเสริมการเล่น เป็นการเปิดโอกาสให้เดกได้ค้นพบวิธีการหาความรู้
**ขั้นสรุป การเรียนรู้เรื่องรูปทรง จะเป็นบทเรียนหนึ่งที่ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสสืบค้นความรู้ ตอบสนองความต้องการรู้ตามวัย เดกจะได้รับการปูนิสัยให้เป็นคนช่างสังเกตจะพัฒนาความคิด และใช้การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

สิ่งที่ขาดตกบกพร่อง   
1.ครูควรมีกล่องใส่ รูปทรงต่างๆ ให้เด็กหยิบ  ออกมา
2.ในการแจกกระดาษควรสอน คอนเส็ป
3. การใช้กาวควรใช้ไม้เพื่อไม่ให้เด็กทำเลอะเทอะ
4. กิจกรรมนี้ควรนำไปใช้ในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์





ทักษะที่ได้รับ
            การสอนเด็กควรดูจากสิ่งที่เป็นผลต่อตัวเด็กและเรื่องใกล้ตัวเด็กมากที่สุด สอนอย่างมีคอนเส็ป 

การนำมาประยุกต์ใช้ 
            สามารถนำไปใช้ในการนำเสนองานในวิชาอื่นๆได้ดี

บรรยากาศในห้องเรียน
            ดูเพื่อนนำเสนอ ไม่ค่อยเข้าใจในบางเรื่อง

ประเมินวิธีการสอน
             อาจารย์ฟังและจดข้อที่ควรปรับปรุงและถามนักศึกษาเพื่อให้เข้าใจดีมากขึ้น






การบันทึกครั้งที่ 16 วันเสาร์ที่ 28  เมษายน พ.ศ.2561     เวลา 08:30 - 12:30 น. เนื้อหาที่เรียน                       กิจกรรมที่ ...