วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2561


การบันทึกครั้งที่ 7
วันพุธที่  7 มีนาคม  พ.ศ.2561   เวลา 08:30 - 12:30 น.


เนื้อหาที่่เรียน
          กิจกรรมวันนี้เป็นการนำเสนอบทความ  และตัวอย่างการสอน ตามลำดับเลขที่
คนที่ 1. นางสาววสุธิดา  คชชา  นำเสนอบทความเรื่อง  สอนคณิตศาสตร์อย่างไรให้สนุก (สำหรับเด็กปฐมวัย)  สรุปได้ว่า : สำหรับเด็กปฐมวัย คณิตศาสตร์ในความคิดของเด็กดูเหมือนยาก แต่เราสามารถจัดการเรียนรู้อย่างสนุกสนานไม่เครียดไปพร้อมกับเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้และเหมาะสมตามวัย เด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านการเล่นและได้สัมผัสสิ่งต่างๆ เพื่อให้เด็กเกิดการจดจำที่ยาวนานการจัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้อย่างสนุกโดยจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้สื่อที่เป็น รูปภาพ ของจริง บล็อค ตัวต่อ และจัดกิจกรรมส่งเสริมการคิดในเรื่องของการจำแนก เปรียบเทียบ รูปทรง ใช้วิธีการจัดกิจกรรมกลุ่มให้เด็กได้เรียนรู้ร่วมกันและรู้จักสังเกตช่วยเหลือ
⇨ หลักการสอนให้สนุกของกิจกรรมนี้ คือ อยู่บนพื้นฐานสิ่งที่ควรคำนึงเกี่ยวกับตัวเด็ก 
1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2.บุคคลและสถานที่
3.ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
วิธีการสอนที่เกิดจากครู ⇨ อันดับแรก การเลือกเรื่องที่จะสอนให้ใกล้ตัวเด็กมากที่สุด อันดับที่ 2 เรื่องที่มีผลกระทบเกี่ยวกับตัวเด็ก
เรื่องที่เกิดจากเด็ก ⇨ เรื่องที่เด็กสนใจ นำไปสู่ Project Approach 
กิจกรรมที่ครูสอนนี้ อยู่ในหัวข้อ ธรรมชาติรอบตัว เพราะเป็นสอนให้จำแนกเกี่ยวกับดอกไม้
คำนิยาม คือ การให้เด็กลงมือกระทำโดยที่เด็กมีอิสระ
การเกิดการเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
indigrad คือ การเรียนรู้จากหน่วยต่างๆ ที่จะสอนคณิตศาสตร์
👉👉หลักการจำแนกดอกไม้ 
                ชนิดของดอกไม้  → ใช้ชื่อเป็นเกณฑ์
                สีของดอกไม้      → แบ่งเป็น 2 พวก เช่น ดอกที่มีสีแดง กับดอกที่ไม่มีสีแดง
                กลิ่นของดอกไม้  → มีกินเหม็น  มีกลิ่นหอม กับไม่มีกลิ่น
ความรู้ที่ได้รับทางด้านวิทยาศาสตร์ เรื่อง กลิ่นและสี  ความรู้ที่ได้รับด้านคณิตศาสตร์ เรื่องการจำแนก 
มาก น้อย คือจำนวนนับเชิงปริมาณ 
🔺 เปิดโอกาสให้เด็กนับ - จำนวน  นำตัวเลขฮินดูอารบิกมาใช้

นับ  -  จำนวน  -  ตัวเลขอารบิก
นำมาเปรียบเทียบ  สำหรับเด็กการเปรียบเทียบทำให้เด็กได้รู้  ว่ามากที่สุดกับน้อยที่สุด เป็นอย่างไร



คนที่ 2.นางสาวกิ่งแก้วทนนำ  นำเสนอตัวอย่างการสอน เรื่่อง รายการโทรทัศน์เพื่อเด็กปฐมวัย ป.ปลา ตากลม ตอนที่32 รูปทรงแปลงร่าง 27 เม.ย. 2011 ครูหน่อย 
สรุปได้ว่า  : ขั้นนำ ครูถามเด็กๆว่ารู้จักรูปทรงใดบ้างในชีวิตประจำวันรอบตัวเด็ก เพื่อทดสอบความรู้เดิมที่เด็กมีเกี่ยวกับรูปทรง
ขั้นสอน ให้เด็กหลับตาสัมผัสสิ่งของที่คุณครูเอามาว่ามีรูปทรงใดบ้าง
-ต่อมาให้เด็กๆนำรูปทรงไปแปลงร่างเป็นรูปต่างๆ ขึ้นอยู่กับความคิดจินตนาการของเด็กเอง ให้เด็กได้ลองทำ และใช้ความคิดสร้างสรรค์
การสอนรูปร่างรูปทรงมีประโยชน์ต่อเด็กคือ 
*เด็กได้ฝึกใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ ให้รู้จักสังเกต และแก้ปัญหา 
*เด็กได้ฝึกคิดค้นประดิษฐ์สิ่งต่างๆตามความคิดของเขา
*การส่งเสริมการเล่น เป็นการเปิดโอกาสให้เดกได้ค้นพบวิธีการหาความรู้
**ขั้นสรุป การเรียนรู้เรื่องรูปทรง จะเป็นบทเรียนหนึ่งที่ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสสืบค้นความรู้ ตอบสนองความต้องการรู้ตามวัย เดกจะได้รับการปูนิสัยให้เป็นคนช่างสังเกตจะพัฒนาความคิด และใช้การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

สิ่งที่ขาดตกบกพร่อง   
1.ครูควรมีกล่องใส่ รูปทรงต่างๆ ให้เด็กหยิบ  ออกมา
2.ในการแจกกระดาษควรสอน คอนเส็ป
3. การใช้กาวควรใช้ไม้เพื่อไม่ให้เด็กทำเลอะเทอะ
4. กิจกรรมนี้ควรนำไปใช้ในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์





ทักษะที่ได้รับ
            การสอนเด็กควรดูจากสิ่งที่เป็นผลต่อตัวเด็กและเรื่องใกล้ตัวเด็กมากที่สุด สอนอย่างมีคอนเส็ป 

การนำมาประยุกต์ใช้ 
            สามารถนำไปใช้ในการนำเสนองานในวิชาอื่นๆได้ดี

บรรยากาศในห้องเรียน
            ดูเพื่อนนำเสนอ ไม่ค่อยเข้าใจในบางเรื่อง

ประเมินวิธีการสอน
             อาจารย์ฟังและจดข้อที่ควรปรับปรุงและถามนักศึกษาเพื่อให้เข้าใจดีมากขึ้น






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การบันทึกครั้งที่ 16 วันเสาร์ที่ 28  เมษายน พ.ศ.2561     เวลา 08:30 - 12:30 น. เนื้อหาที่เรียน                       กิจกรรมที่ ...